Justice by Design: กระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนออกแบบได้

People-Centered

Justice Matters

ร่วมสร้างกระบวนการยุติธรรมที่ยึดความต้องการ ทัศนคติ และความคาดหวังของประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centered) ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของศาลยุติธรรม เพื่อลดช่องว่างของกระบวนการยุติธรรมแบบดั้งเดิมที่ยึดองค์กรผู้ให้บริการเป็นศูนย์กลาง (Institution-Focused)


Update! การนำเสนอผลงานโครงการ "Justice by Design" กระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนออกแบบได้

ติดต่อสอบถาม

02 512 8499

การนำเสนอผลงานโครงการ

Justice by Design

At-a-

Glance

Design Thinking Bootcamp

(In-person)

Saturday (9.00 - 12.00)

Feb 4,11,18,25 & Mar 11,18,25 & Apr 1

5 Teaching Sessions

1 Group Project

Justice by

Design

: กระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนออกแบบได้

ร่วมสร้างสรรค์การพิจารณาคดีในชั้นศาลผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ไปพร้อม ๆ กับเพื่อนร่วมทีมที่มาจากภาคประชาชนผู้ใช้บริการศาลและภาคปฏิบัติ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการดำเนินคดีในศาลรูปแบบใหม่ที่ยึดเอาความต้องการของประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centered) ภายใต้ Theme “Redesigning the Court for People-Centered Justice”

Who should

Attend?

ภาคประชาชน

  • ประชาชนผู้ใช้บริการศาล
  • นิสิต
  • นักศึกษา

ภาคปฏิบัติงาน

  • ผู้พิพากษา
  • เจ้าหน้าที่ศาล
  • อัยการ
  • ทนายความ
  • ผู้ปฏิบัติงานในศาลอื่นๆ

Details

  • หลักสูตร Fellowship Program ที่ผสมผสานระหว่างการบรรยายเชิงวิชาการและการร่วมมือกับสมาชิกกลุ่มประมาณ 6-7 คน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในกระบวนการยุติธรรมชั้นศาล
  • กิจกรรมของหลักสูตรจัดขึ้นที่สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลอาญา ศาลแพ่ง และสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
  • ระยะเวลาดำเนินการของหลักสูตรทั้งสิ้น 8 วัน โดยจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 4, 11, 18, 25 กุมภาพันธ์ วันเสาร์ที่ 11, 18, 25 มีนาคม และวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.
  • วิทยากรผู้บรรยายมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบและการพิจารณาคดีในศาล
  • ร่วมนำเสนอ Idea จากการทำกระบวนการ Design Thinking ต่อประชาชนและผู้บริหารศาลยุติธรรม

Our

Challenge

ออกแบบกระบวนการยุติธรรมชั้นศาลภายใต้โจทย์ของหลักสูตร “Redesigning the Court for People-Centered Justice” โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้บริการกลุ่มต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการชั้นศาล เช่น

  • การออกแบบกระบวนการศาลดิจิทัลโดยคำนึงถึงประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้
  • การออกแบบกระบวนการศาลเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ
  • การออกแบบกระบวนการศาลที่คำนึงถึงประชาชนที่ไม่มีเงินจ้างทนายความแต่จำเป็นต้องใช้บริการศาล
  • การออกแบบกระบวนการศาลที่คำนึงถึงประชาชนที่จำเป็นต้องใช้บริการศาลแต่ไม่มีเวลามาศาล
  • การออกแบบกระบวนการศาลเพื่อแก้ปัญหาอื่น ๆ ของผู้ใช้บริการศาล เป็นต้น

Why

Justice x Design ?

  • เรียนรู้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จากทีมวิทยากรและ Coach ที่มีประสบการณ์จริง
  • เข้าใจ Pain Point ของการดำเนินคดีในชั้นศาลจากมุมมองของประชาชนผู้ใช้บริการและผู้ปฏิบัติงานในศาล
  • ลงสำรวจและสังเกตการณ์กระบวนการในชั้นศาลเพื่อให้เห็นสภาพปัญหาจริงในการดำเนินคดีชั้นศาล
  • ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมการพิจารณาคดีในชั้นศาลพร้อมกับเพื่อนร่วมทีมตามประเด็นที่แต่ละทีมสนใจ
  • ร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรมการพิจารณาคดีแบบใหม่ต่อประชาชนทั่วไปและผู้บริหารศาลยุติธรรม
  • ประกาศนียบัตรการเข้าร่วมโครงการ COJ Fellowship Program

สำนักส่งเสริมงานตุลาการ

อาคารศาลอาญา ชั้น 6

ถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล

เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Contact Us

Email: oja@coj.go.th

Phone: 02 512 8499

Fax : 02 5128 432

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์-วันศุกร์

8.30-16.30 น.

ยกเว้นวันหยุดราชการ

Justice by Design

Creating Justice Initiative through Design Thinking Process.


Copyright©2022 Justice by Design

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ